5 สิ่ง ที่ชอบทำ (ภาค 2) หลังจากติดตั้ง Kali Linux เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น

บทความโดย
Apiwith Potisuk และ Warunyou Sunpachit
Cybersecurity Consultant

1) ตั้ง Shared Folder ใน Virtual Machine

เราอาจไม่ได้มี Virtual Machine (VM) guest เพียงแค่เครื่องเดียวในเครื่องคอมพิวเตอร์ Host ของเรา หรือ อาจไม่ได้ต้องการที่จะเก็บไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ใน VM guest ตลอดไป บางครั้งอาจจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เปิด VM guest ขึ้นมาไม่ได้ บางครั้ง Drag & Drop หรือ Clipboard ก็อาจจะไม่ทำงาน

การที่เราตั้ง Shared Folder ผ่านโปรแกรม Virtual Machine เอาไว้จึงเป็นตัวเลือกที่ดี อีกทั้งยังช่วยในกรณีที่เราอาจจะต้องวิเคราะห์หรือใช้งานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หากเรานำข้อมูลขนาดใหญ่ไปเก็บไว้ใน VM guest จะส่งผลให้ VM guest มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งขนาดที่ใหญ่ขึ้นของ VM guest จะทำให้กลับมาเล็กเหมือนเดิมก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องยุ่งยาก

  1. ไปที่ตั้งค่าของโปรแกรม Virtual Machine เลือก Shared Folders
  2. กดเพิ่ม
  3. เลือก Location บนเครื่อง Host ที่ต้องการจะแชร์ไปยังเครื่อง VM
  4. เลือก Auto-mount เลือกจุดที่ต้องการจะ Mount เช่น /mnt/hgfs
  5. กด OK
  6. กด OK

Note: แนะนำให้ปิด VM guest ก่อนตั้งค่านะครับ


2) Folder ใน Kali ไม่สามารถเปิด Shared Folders ได้

หลังจากที่ตั้ง Shared Folder เราจะพบว่า User ที่เป็นสิทธิ์ root จะสามารถเข้าถึง Path ที่ถูกตั้งเป็น Shared Folder ได้เท่านั้น และในหลาย ๆ ครั้ง Tool ที่ใช้จะต้องมีการ Export ผลลัพธ์ไปยัง Directory ที่ต้องการเก็บ และเราก็ไม่ได้อยากรัน Tool เหล่านั้นด้วยสิทธิ์ root ตลอดเวลา

สำหรับผู้ใช้ Oracle VM Virtual Box ค่อนข้างจะเป็นปัญหาเลยทีเดียว แต่ปัญหานี้มีวิธีแก้เพียงรันคำสั่งต่อไปนี้

$> sudo usermod -aG vboxsf kali

เนื่องจาก Shared Folder ถูกบังคับให้เจ้าของเป็น Root และอยู่ภายใต้ User Group ชื่อ vboxsf จึงต้องทำการเพิ่ม user kali เข้าไปในกลุ่ม หลังจากนั้นควรจะ Reboot ก็จะสามารถใช้งานได้ครับ


3) ปัญหาภาษาไทยใน Kali

หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบระบบ บางครั้งเราอาจจะต้องพบกับระบบที่มีงานใช้งานภาษาไทย หรือ แม้แต่การใช้งาน Search Engine และโปรแกรมแชทอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาว่าโปรแกรมไม่สามารถแสดงผลภาษาไทย

ทางออกที่กำลังจะกล่าวถึง ค่อนข้างจะช่วยในการแก้ปัญหานี้พอสมควร โดยการรันคำสั่งต่อไปนี้

$> sudo apt install fonts-thai-tlwg-ttf

ก็จะสามารถใช้งานภาษาไทยได้แล้วครับ


4) Text Editor ที่อำนวยความสะดวก

ในบางครั้งต้องการจดโน้ตที่อาศัยความรวดเร็วและต้องการเน้นข้อความไปในการพิมพ์ทีเดียว อย่างเช่น การบันทึกลงในไฟล์นามสกุล .md ซึ่งย่อยมาจาก Markdown โดยจะมี Syntax ที่ช่วยในการทำ Heading, Bullet, ตาราง, Code Block พร้อมกับ Syntax Highlight ของแต่ละภาษา

ในตัวอย่างภาพ ผมได้หยิบยกโปรแกรม Visual Studio Code (VS Code) มาเพราะว่าตัวโปรแกรมรองรับการทำ Outline ในหลาย ๆ ภาษา ข้อดีของการมี Outline ก็คือการที่เราสามารถเห็นสารบัญของไฟล์นั้น ๆ ได้ เมื่อกดที่รายการสารบัญ หน้าต่างก็จะเลื่อนไปยังตำแหน่งของหัวข้อนั้น ๆ

นอกจากนี้ก็ยังไม่ต้องคอยกังวลว่าเวลา Copy ข้อมูลมาจากที่ต่าง ๆ เช่น Browser หรือ เอกสารต่าง ๆ จะติด Format มา ทำให้โน้ตของเราดูไม่เป็นระเบียบ

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่


5) เปลี่ยน Default Password ของ Kali

บางคนอาจจะดาวน์โหลด Kali ใน Version ที่ตรงกับโปรแกรม Virtual Machine ที่ใช้งานอยู่มาใช้ ส่วนมากจะถูกตั้ง Default Password ของ User: kali มาเป็นคำว่า kali

ในขณะที่เป็นนักทดสอบเจาะระบบ เราอาจจะเพลิดเพลินกับการเข้าระบบของเป้าหมายด้วย Default Password ก็อย่าเผลอเปิดช่องให้คนที่แอบอยู่ข้างหลังเข้าเครื่อง Kali ของคุณได้เช่นกันนะครับ ^__^